เมนู

2. ธรรมบท 3. อุทาน 4. อิติวุตตกะ 5. สุตตนิบาต 6. วิมานวัตถุ
7. เปตวัตถุ 8. เถรคาถา 9. เถรีคาถา 10. ชาดก 11. นิทเทส
12. ปฏิสัมภิทา 13. อปทาน 14. พุทธวงศ์ 15. จริยาปิฎก ชื่อว่า
สุตตันตปิฏก.
ปกรณ์ 7 มีธรรมสังคณีเป็นต้น ชื่อว่า อภิธรรมปิฎก.

คำว่า วินัย มีอรรถ 3 อย่าง



บรรดาปิฎกทั้ง 3 นั้น พระวินัยนี้ บัณฑิตผู้รู้เนื้อความแห่งพระวินัย
กล่าวว่า วินัย เพราะมีนัยต่าง ๆ มีนัยพิเศษ และเพราะฝึกหัดกายวาจา.
จริงอยู่ ในพระวินัยปิฎกนี้ ชื่อว่า มีนัยต่าง ๆ คือ มีนัยที่แยก
ไว้โดยปาฏิโมกขุทเทส 5 อย่าง อาบัติ 7 กองมีปาราชิกเป็นต้น มาติกา
และวิภังค์เป็นต้น และที่ชื่อว่า มีนัยพิเศษ คือ นัยแห่งอนุบัญญัติ ซึ่งมีการ
ทำให้มั่นคง และการทำให้หย่อนเป็นประโยชน์ อนึ่ง วินัยนี้ ชื่อว่า ย่อม
ฝึกหัดกายวาจา เพราะป้องกันการประพฤติผิดทางกายและวาจา เพราะฉะนั้น
วินัยนี้ บัณฑิตจึงกล่าวว่า ชื่อว่า วินัย เพราะมีนัยต่าง ๆ เพราะมีนัยพิเศษ
เพราะฝึกหัดกายวาจา ด้วยเหตุนั้นนั่นแหละ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถ
แห่งการกล่าวถึงพระวินัยนั้น ท่านจึงประพันธ์คาถาไว้ว่า
วิวิธวิเสสนยตฺตา วินยนโต เจว กายวาจานํ
วินยตฺถวิทูหิ อยํ วินโย วินโยติ อกฺขาโต

พระวินัยนี้ บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งวินัย
ทั้งหลาย กล่าวว่า พระวินัย เพราะมีนัยต่างๆ
เพราะมีนัยพิเศษ และเพราะฝึกหัดกายวาจา

ดังนี้.

คำว่า พระสูตรมีอรรถ 6 อย่าง



ส่วนพระสูตร บัณฑิตผู้รู้อรรถแห่งพระสูตร กล่าวว่า พระสูตร
เพราะการแสดงถึงประโยชน์ เพราะเป็นดำรัสอันพระพุทธเจ้าตรัสดีแล้ว เพราะ
เผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์ เพราะเป็นที่ต้านทานอย่างดี เพราะ
มีส่วนเปรียบด้วยเส้นด้ายบรรทัด.
จริงอยู่ พระสูตรนั้นย่อมแสดงประโยชน์ทั้งหลายอันต่างโดยประโยชน์
ของตน และของผู้อื่นเป็นต้น. อนึ่ง ในพระสูตรนี้ มีอรรถที่ตรัสไว้อย่างดี
เพราะตรัสคล้อยตามอัธยาศัยของเวไนยสัตว์. ก็พระสูตรนี้ ย่อมหลั่งออกซึ่ง
ประโยชน์ทั้งหลาย เหมือนข้าวกล้าผลิตผล และย่อมหลั่งออกซึ่งประโยชน์
ทั้งหลาย เหมือนแม่โคนมหลั่งน้ำนมออก ชื่อว่า ต้านทาน คือ ย่อมรักษา
ประโยชน์ทั้งหลายเหล่านั้นอย่างดี อนึ่ง ชื่อว่า มีส่วนเปรียบด้วยเส้นด้าย
บรรทัด เปรียบเหมือนเส้นด้ายบรรทัด ย่อมเป็นประมาณของช่างถากทั้งหลาย
ฉันใด พระสูตรแม้นี้ ก็เป็นประมาณของวิญญูชนทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน.
อนึ่ง ดอกไม้ทั้งหลายที่เขาร้อยไว้ด้วยด้าย ย่อมไม่เรี่ยรายไม่กระจัดกระจายฉันใด
เนื้อความทั้งหลายที่ทรงรวบรวมไว้ด้วยพระสูตรนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ด้วย
เหตุนั้น เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอรรถแห่งการกล่าวถึงพระสูตรนั้น ท่านจึง
ประพันธ์คาถาไว้ว่า
อตฺถานํ สูจนโต สุวุตฺตโต สวนโตถ สูทนโต
สุตฺตาณา สุตฺตสภาคโต จ สุตฺตํ สุตฺตนฺติ อกฺขาตํ
พระสูตร ท่านเรียกว่า พระสูตร
เพราะแสดงอรรถ เพราะตรัสไว้ดีแล้ว
เพราะเผล็ดประโยชน์ เพราะหลั่งประโยชน์